วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

SWOT ANALYSIS
จุดแข็ง (Strengths)

1. รูปแบบการลดภาษีสินค้าปกติ โดยจะลดลงเป็น 0% ในปี พ.ศ. 2010
        - รูปแบบการลดภาษีสินค้าอ่อนไหว จำนวน 251 รายการ อาทิ สินค้าเกษตร นม มันฝรั่ง
          
กระเทียม หินอ่อน รถยนต์ และจักรยานยนต์ เป็นต้น
2. สินค้าอ่อนไหวสูง 100 รายการ
        ไทยและจีนเปิดให้มีการลดภาษีสินค้าผัก / ผลไม้สดและแปรรูป ก่อนสมาชิกอาเซียนอื่น ผัก / ผลไม้สดและแปรรูป จำนวน 116 รายการ  ลดภาษีนำเข้าเป็น 0% ทันที ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2546 เป็นต้นมา ซึ่งอัตราภาษีนำเข้าผลไม้ของจีนหลัง FTA มีอัตราที่ลดลง โดยผลไม้สดลดลงถึง 0% ผัก/ผลไม้ปรุงแต่ง 5-20% ผลไม้แปรรูป 12% และกลุ่มสินค้าอ่อนไหว ได้แก่ สับปะรดกระป๋อง 15% ผลไม้กระป๋อง 15-20% และน้ำผัก

จุดอ่อน (Weaknesses)

1. การค้าสินค้าผลไม้สดแช่เย็นและแช่แข็งระหว่างไทยกับจีน ไทยขาดดุลการค้าในสินค้า
    ดังกล่าวมาตลอด และมีแนวโน้มขาดดุลเพิ่มขึ้น สาเหตุอาจเนื่องมาจากจีนมีกฎระเบียบ
    การนำเข้าและมาตรการสุขอนามัยที่เข้มงวดในการตรวจสอบโรคพืชและสารเคมีตกค้าง 

2. อัตราภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม มีอัตราค่อนข้างสูง  ทำให้ราคาผลไม้ในจีนมีราคาสูงเกิน
    ความสามารถที่ประชาชนส่วนใหญ่จะบริโภคได้
3. ผลไม้ไทยมักประสบปัญหาจากมาตรการกีดกันทางการค้าเช่นเดียวกับสินค้าอาหารอื่นๆ 
    โดยเฉพาะสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ได้เตรียมมาตรการรองรับการเปิดเสรีก่อนการเข้าเป็น
    สมาชิกองค์การการค้าโลก  (WTO) ในปี 2545 ทำให้ผลไม้ไทยประสบปัญหาในหลายด้าน
    สำหรับการส่งออกไปตลาด

โอกาส (Opportunities)

1. กระแสการยอมรับจากหลายประเทศ เป็นการช่วยขยายการส่งออกผลไม้ไทย
2. รัฐบาลเพิ่มความสำคัญและส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคผลไม้ภายในประเทศให้มากขึ้น
     และทั่วถึงในทุกภูมิภาค เพื่อขยายตลาดผลไม้ไทยและเพื่อลดการบริโภคผลไม้จาก
     ต่างประเทศรวมทั้งจีน  ซึ่งปัจจัยด้านราคาและคุณภาพสินค้าจะเป็นสิ่งจูงใจหลัก
     ให้มาตรการนี้เกิดผลเป็นรูปธรรม

อุปสรรค (Threats)

1. ปัญหาที่พบของผลไม้ไทยคือเรื่องคุณภาพของสินค้า สารตกค้างของยาปราบศัตรูพืช
    และระบบโลจิสติกส์
2. ผลไม้ไทยต้องแข่งขันกับผลไม้จากประเทศในเขตร้อนอื่นๆ ของเอเซียอีกหลายประเทศ
    ที่สำคัญ ได้แก่
                        1)  มาเลเซีย เวียดนาม สำหรับสินค้าทุเรียน
                        2)  จีน ไต้หวัน สำหรับสินค้าลำไย ลิ้นจี่
                        3) ฟิลิปปินส์ และประเทศแถบแอฟริกาและอเมริกาใต้ สำหรับผลไม้เมืองร้อนอื่นๆ
                             เช่น มะม่วง มังคุด ส้ม
3. ขาดศูนย์รวมรวบรวมสินค้าและห้องเย็น ไม่สามรถจะรักษาคุณภาพสินค้า เกิดปัญหาสูญเสีย
     หลังการเก็บเกี่ยวอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในระหว่างการบรรจุหีบห่อ
     และการขนส่งเป็นผลกระทบต่อราคาและเป็นปัญหาทางด้านการตลาด