ประเทศเกาหลี
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์เริ่มจาก อาณาจักรโคโชซอน สถาปนาขึ้นโดย "ทันกุน" ต่อมาสมัยสามอาณาจักรแห่งเกาหลี(โคกูรยอ, แพ็กเจ, และชิลลา)ถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นสหอาณาจักรชิลลา ซึ่งมีพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง และต่อมา ค.ศ. 918 ได้สถาปนา[[อาณาจักรโคเรียว] หรือ โค-รยอ ซึ่งเป็นชื่อของเกาหลี (KOREA) และเมื่อราชวงศ์โชซอน(ราชวงศ์ลี)ครองอำนาจเปลี่ยนชื่ออาณาจักรใหม่ ชื่อ อาณาจักรโชซอนเมืองหลวงชื่อว่า ฮันยาง (กรุงโซล) มีลัทธิขงจื้อ เป็นคติธรรมประจำชาติ และได้ประดิษฐ์อักษรเกาหลี ขึ้น [1]
ในปี พ.ศ. 2453ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นจนกระทั่งสิ้นสุด สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้รับอิสรภาพอย่างถาวร
ประเทศเกาหลีแบ่งเป็น 2 ประเทศ คือ เกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ โดย ประเทศเกาหลีใต้สถาปนาเป็น สาธารณรัฐเกาหลี ประเทศเกาหลีเหนือ สถาปนา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
ภูมิศาสตร์
คาบสมุทรเกาหลีทอดตัวไปทางทิศใต้ทางด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย มีความยาว 1,020 กิโลเมตร (612 ไมล์) และกว้าง 175 กิโลเมตร (105 ไมล์) ณ จุดที่แคบที่สุดของคาบสมุทร พื้นที่ 70% ของประเทศเป็นเทือกเขา จึงจัดเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของแผ่นดินที่เป็นหินแกรนิตและหินปูนทำให้เกิดภูมิประเทศที่สวยงามอย่างมหัศจรรย์ ประกอบด้วยเทือกเขาและหุบเขา เทือกเขา ตลอดชายฝั่งด้านตะวันออกสูงชันและทอดตัวลงสู่ทะเลตะวันออก ในขณะที่ชายฝั่งทางด้านใต้ และตะวันตก เทือกเขาค่อย ๆ ลาดลงต่ำสู่ที่ราบชายฝั่ง ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเกาหลีโดยเฉพาะในด้านการผลิตข้าว คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ที่บริเวณเหนือเส้นขนานที่ 38 คือ ประเทศระบอบประชาธิปไตย สาธารณรัฐเกาหลีอยู่ทางใต้ และประเทศระบอบคอมมิวนิสต์ เกาหลีเหนือ โดยถูกคั่นกลางโดยเขตปลอดทหาร ประเทศเกาหลีใต้มีพื้นที่ 99,500 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 47.9 ล้านคน (ค.ศ. 2003) ประกอบด้วย 9 จังหวัด (โด) กรุงโซลเป็นเมืองหลวงของประเทศ และประกอบด้วยเมืองใหญ่ ๆ 6 เมือง คือพูนซา น แทกู อินชน ควางจู แทจอน และ อุลซาน รวมมีเมืองทั้งหมด 77 เมือง (ซี) 88 มณฑล (กุน) ใน 9 จังหวัด
การเมือง
หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2491 คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งเป็นสองส่วนโดยเส้นละติจูดที่ 38 องศาเหนือ (มักเรียกว่าเส้นขนาน 38) โดยสหภาพโซเวียตดูแลเกาหลีเหนือมีการปกครองระบอบสังคมนิยม ส่วนสหรัฐอเมริกาดูแลเกาหลีใต้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ศาสนา
ชาวเกาหลีเหนือนับถือศาสนาพุทธ 23.33% ศาสนาคริสต์ 0.05% และ ไม่นับถือศาสนา
เศรษฐกิจ
เปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม
ปัจจุบันชาวเกาหลีจะแต่งกายแบบสมัยนิยม แต่หากเป็นงานพิธี เช่น พิธีแต่งงาน พิธีวันเกิด หรือการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ก็จะนิยมแต่งกายโดยชุดประจำชาติ ซึ่งชุดประจำชาติของเกาหลี เรียกว่า “ฮันบก” หากแปลตามตัวอักษรแล้ว “ฮัน” หมายถึงชาวเกาหลี “บก” หมายถึงเสื้อผ้า หรือชุด รวมแล้วหมายถึง ชุดของชาวเกาหลีนั่นเอง
ชุดฮันบกมีหลายลักษณะ ซึ่งจะออกแบบตามฤดูกาล เช่น ชุดฮันบกฤดูร้อนกับหนาว ความหนาของเนื้อผ้าและชุดจะแตกต่างกัน ชุดฮันบกของผู้สูงอายุกับวัยรุ่นหรือเด็ก ๆ ก็มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่น ฮันบกของผู้อาวุโส จะเป็นสีพื้นหรือสีทึบ ๆ แต่ของวัยรุ่น จะมีลักษณะหลากสีสัน ชุดฮันบกสามารถบ่งบอกได้ว่าผู้หญิงที่สวมใส่นั้นแต่งงานหรือยัง หากมีลักษณะหลากสีสัน และมีแถบสีที่แขนหลาย ๆ แถบ แสดงให้เห็นว่าผู้นั้นยังไม่แต่งงาน และนิยมถักเปียยาวอีกด้วย หากเป็นชุดฮันบกสีขาว หมายถึง ชุดไว้ทุกข์ ดังนั้นโดยทั่วไปแล้ว ชาวเกาหลีจะไมใส่ชุดฮันบกสีขาว ในปัจจุบันผู้ที่สวมใส่ชุดฮันบกมักจะเป็นผู้ที่แต่งานแล้ว และเป็นผู้ใหญ่เป็นส่วนใหญ่
วัฒนธรรมการกิน
อาหารหลักของชาวเกาหลี คือ ข้าว เช่นเดียวกับคนไทยที่กินข้าวเป็นอาหารหลัก แต่ลักษณะของกับข้าวนั้นแตกต่างกัน โดยเฉพาะรสชาติของเกาหลีนั้น จะมีความเผ็ดน้อยกว่าของไทย ทำให้ชาวไทยคิดว่าชาวเกาหลีรับประทานอาหารรสไม่จัด อาหารเกาหลีจะมีอาหารประเภทผักมากกว่าเนื้อ ชาวเกาหลีจะปลูกฝังให้ลูกหลานรับประทานผักมากกว่าเนื้อ
ส่วนใหญร้านค้าโดยทั่วไปจะรับแต่สกุลเงินวอน บางร้านค้าอย่างเช่นพวกปลอดภาษีก็อาจมีรับเงินดอลล่าส์บ้างไม่ต้องแปลกใจหรอกน่ะค่ะ ท่าเกิดว่าเดินช๊อปปิ้งอยู่ที่เกาหลีแล้วมีร้านขายกางเกงธรรมด๊า ทำมาดา สุดฤทธิ์ แต่ราคาแพงลิบริ่วถึง20000วอน เพราะท่าเอาเงินวอนมาเทียบกับค่าเงินบาทของไทยเราแล้ว1000วอน ก็จะประมาณ40บาทของเราเท่านั้นเอง
ผลการศึกษาเกี่ยวกับโอกาสของผู้ประกอบการ SMEs ไทยที่ สสว. ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาวิจัยเชิงนโยบายเรื่อง “การเข้าสู่ตลาดจากการเปิดเสรีทางการค้าสำหรับ SMEs”
ระบุว่า โอกาสการเข้าสู่ตลาดเกาหลีใต้ของผู้ประกอบการ SMEs ไทย อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ วัตถุดิบสิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยมีกลุ่มวัยรุ่นเป็นเป้าหมายสำคัญ และยังมีอุตสาหกรรมดิจิตอลคอนเท็นต์ ที่มีกลุ่มงานรับจ้างผลิตเป็นเป้าหมายใหญ่ ส่วนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ตลาดหลักอยู่ที่กลุ่มนักศึกษา คู่แต่งงานใหม่ หญิงโสด กลุ่มนักกอล์ฟ โดยมี FTA อาเซียน-เกาหลี เป็นแรงสำคัญที่ช่วยขยายตลาดให้ SMEs ไทย
ไล่เรียง 4 อุตสาหกรรมที่มีโอกาสบุกตลาดเกาหลีใต้ เริ่มต้นด้วยกลุ่มแรกคือ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้าของเกาหลีใต้ในลำดับที่ 17 คิดเป็นมูลค่า 21.97 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าที่มีการนำเข้าจากไทยมากที่สุด คือ พลอยสี นอกจากนี้ ไทยยังเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องประดับเทียมในอันดับต้นๆ ของเกาหลีด้วย โดยช่องทางการจำหน่ายที่ได้รับความนิยม ได้แก่ การซื้อผ่านทาง TV Home Shopping และ Online Shopping Mall การเข้าสู่ตลาดเกาหลีใต้ของ SMEs ไทย ภายใต้ความตกลงเสรีการค้า อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี พบว่าวิธีการส่งออกโดยผ่านตัวแทนจำหน่าย จะเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการ SMEs รายใหม่ที่เพิ่งเริ่มเข้าสู่ตลาด ส่วนวิธีการส่งออกทางตรง จะเป็นโอกาสที่ดีต่อผู้ประกอบการ SMEs เนื่องจากมีต้นทุนค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก
อุตสาหกรรมต่อมาคือ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศเกาหลี จากการศึกษาพบว่า เกาหลีใต้มีการนำเข้าวัตถุดิบสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในแต่ละปีสูงกว่าการส่งออกไปทั่วโลก สินค้ากลุ่มสิ่งทอ ที่เกาหลีใต้มีการนำเข้าสูงที่สุด คือ ฝ้าย เส้นใยประดิษฐ์ ใยยาวประดิษฐ์ และวัตถุสิ่งทอประดิษฐ์ สำหรับสินค้าสิ่งทอที่สร้างมูลค่าให้ไทยในการส่งออกคือ ฝ้าย และเส้นใยประดิษฐ์ ส่วนการเข้าสู่ตลาดของ
อุตสาหกรรมต่อมาคือ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศเกาหลี จากการศึกษาพบว่า เกาหลีใต้มีการนำเข้าวัตถุดิบสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในแต่ละปีสูงกว่าการส่งออกไปทั่วโลก สินค้ากลุ่มสิ่งทอ ที่เกาหลีใต้มีการนำเข้าสูงที่สุด คือ ฝ้าย เส้นใยประดิษฐ์ ใยยาวประดิษฐ์ และวัตถุสิ่งทอประดิษฐ์ สำหรับสินค้าสิ่งทอที่สร้างมูลค่าให้ไทยในการส่งออกคือ ฝ้าย และเส้นใยประดิษฐ์ ส่วนการเข้าสู่ตลาดของ
สินค้ากลุ่มนี้ ปัจจุบันผู้ประกอบการ SMEs จะใช้วิธีการส่งออกทางอ้อม และภายใต้ข้อตกลงการค้า จะสามารถลดต้นทุนการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศเกาหลีได้
อุตสาหกรรมที่ 3 คือ อุตสาหกรรมดิจิตอลคอนเท็นต์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตสูงและมีความสำคัญต่อตลาด จากการที่รัฐบาลเกาหลีมีนโยบายสร้างประเทศให้เป็น Information Society ทำให้ประชากรมีการใช้ไอซีทีจำนวนมาก และได้เปลี่ยนลักษณะธุรกิจจากรับจ้างผลิตไปเป็นการสร้างสรรค์ผลงานและมีลิขสิทธิ์เป็นของตัวเอง และมีการจ้างการผลิต (Outsource) ไปต่างประเทศมากขึ้น ส่วนผู้ประกอบการไทยเองก็ขยายตลาดงานรับจ้างผลิตจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจการผลิตของไทย มีการขยายรูปแบบการผลิตทั้งแบบรับจ้างผลิต ร่วมผลิต และร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศ ปัจจุบัน ผู้ประกอบการ SMEs ไทยในอุตสาหกรรมนี้ เข้าสู่ตลาดเกาหลีใต้ ด้วยการติดต่อกับผู้ว่าจ้างโดยตรง ผ่านช่องทางการแสดงสินค้า E-Commerce และหน่วยงานภาครัฐ นอกจากนี้ยังมีการสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (Strategic Alliances) เป็นกลยุทธ์หลักในการขยายตลาดต่างประเทศ
สำหรับอุตสาหกรรมสุดท้ายที่มีโอกาสเจาะตลาดเกาหลีใต้คือ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้ประเทศเกาหลีใต้อย่างมาก ทำให้รัฐบาลสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวเกาหลีก็นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย รองจาก จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ดังนั้นจึงเป็นโอกาสสำหรับ SMEs ในหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านการท่องเที่ยว โดยช่องทางที่นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยนั้น จะมีทั้งติดต่อบริษัทนำเที่ยวของไทยโดยตรงผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และการตั้งสำนักงานตัวแทนหรือสาขาในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีรูปแบบของการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ โดยการส่งกรุ๊ปทัวร์ให้กันและกัน ซึ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สำคัญ คือกลุ่มนักศึกษา คู่แต่งงานใหม่ หญิงโสด กลุ่มกอล์ฟ เป็นต้น
หาก SMEs รายใดอยู่ในอุตสาหกรรมที่กล่าวมาแล้วข้างต้น น่าจะลองศึกษาความเป็นไปได้ในการบุกตลาดเกาหลีใต้ เพราะวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเราเสียดุลการค้าในอุตสาหกรรมบันเทิงให้แก่เกาหลีใต้ไปไม่น้อย ถึงเวลาที่เราจะต้องไปเพิ่มสมดุลทางการค้าในอุตสาหกรรมอื่นบ้างแล้ว
อุตสาหกรรมที่ 3 คือ อุตสาหกรรมดิจิตอลคอนเท็นต์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตสูงและมีความสำคัญต่อตลาด จากการที่รัฐบาลเกาหลีมีนโยบายสร้างประเทศให้เป็น Information Society ทำให้ประชากรมีการใช้ไอซีทีจำนวนมาก และได้เปลี่ยนลักษณะธุรกิจจากรับจ้างผลิตไปเป็นการสร้างสรรค์ผลงานและมีลิขสิทธิ์เป็นของตัวเอง และมีการจ้างการผลิต (Outsource) ไปต่างประเทศมากขึ้น ส่วนผู้ประกอบการไทยเองก็ขยายตลาดงานรับจ้างผลิตจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจการผลิตของไทย มีการขยายรูปแบบการผลิตทั้งแบบรับจ้างผลิต ร่วมผลิต และร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศ ปัจจุบัน ผู้ประกอบการ SMEs ไทยในอุตสาหกรรมนี้ เข้าสู่ตลาดเกาหลีใต้ ด้วยการติดต่อกับผู้ว่าจ้างโดยตรง ผ่านช่องทางการแสดงสินค้า E-Commerce และหน่วยงานภาครัฐ นอกจากนี้ยังมีการสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (Strategic Alliances) เป็นกลยุทธ์หลักในการขยายตลาดต่างประเทศ
สำหรับอุตสาหกรรมสุดท้ายที่มีโอกาสเจาะตลาดเกาหลีใต้คือ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้ประเทศเกาหลีใต้อย่างมาก ทำให้รัฐบาลสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวเกาหลีก็นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย รองจาก จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ดังนั้นจึงเป็นโอกาสสำหรับ SMEs ในหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านการท่องเที่ยว โดยช่องทางที่นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยนั้น จะมีทั้งติดต่อบริษัทนำเที่ยวของไทยโดยตรงผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และการตั้งสำนักงานตัวแทนหรือสาขาในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีรูปแบบของการเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ โดยการส่งกรุ๊ปทัวร์ให้กันและกัน ซึ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สำคัญ คือกลุ่มนักศึกษา คู่แต่งงานใหม่ หญิงโสด กลุ่มกอล์ฟ เป็นต้น
หาก SMEs รายใดอยู่ในอุตสาหกรรมที่กล่าวมาแล้วข้างต้น น่าจะลองศึกษาความเป็นไปได้ในการบุกตลาดเกาหลีใต้ เพราะวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเราเสียดุลการค้าในอุตสาหกรรมบันเทิงให้แก่เกาหลีใต้ไปไม่น้อย ถึงเวลาที่เราจะต้องไปเพิ่มสมดุลทางการค้าในอุตสาหกรรมอื่นบ้างแล้ว
ที่มา
- th.wikipedia.org/wiki/ประเทศเกาหลี
เนื้อหาดีอ่านและรู้เรื่องที่สุดโลก
ตอบลบสวย จ้ า รวม คน ทำ ด้วย
ตอบลบข้อมูล ดี ^^
เนื้อหาเยอะดีนะ
ตอบลบน่ารักดี
เนื้อหาเยอะดีนะ
ตอบลบ